แบบสอบถามเรื่องความสนใจของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางกฏหมาย

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ขนมไทย (ทองหยอด)



ประวัติความเป็นมา


ความหวานของขนม ทอดหยอดซึ่งแพร่หลายมาถึงปัจจุบันถือเป็นหนึ่งของร่องรอยที่ชาวโปรตุเกสทิ้งไว้

ท้าวทองกีบม้า หรือ มารี เดอร์ กีมาร์ ภริยาเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ขุนนางฝรั่งผู้มีบทบาทอย่างมากในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งท้าวทองกีบม้านี่เองที่สอนให้คนไทยทำขนมเหล่านี้

“ท้าวทองกีบม้า” หรือ “มารี เดอร์ กีมาร์” เกิดเมื่อพุทธศักราช 2201 แต่บางแห่งก็ว่า พุทธศักราช 2209 โดยยึดหลักกับปีที่แต่งงานกับเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เมื่อปี พุทธศักราช 2225 ซึ่งขณะนั้น มารีมีอายุเพียง 16 ปี เท่านั้นเอง

บิดา ชื่อ “ฟานิก” (phanick) เป็นลูกครึ่งญี่ปุ่นผสมแขกเบงกอล มารดาชื่อ “อุรสุลา ยา มาดา” (Ursala Yamada) ซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นผสมโปรตุเกส ที่อพยพตั้งถิ่นฐานในอยุธยา ช่วงชีวิตหนึ่งของ

“ท้าวทองกีบม้า” ได้ไปรับราชการในสำนักพระราชวังตำแหน่ง “หัวหน้าห้องเครื่องต้น” ดูเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์และเก็บผลไม้เสวย มีพนักงานอยู่ภายใต้บังคับบัญชาเป็นหญิงล้วน ซึ่งเธอทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ยกย่องเชิดชู

ระหว่างที่รับราชการนางมารีได้สอนการทำขนมหวานจำพวกทองหยอด ทองหยิบ ทองพลุ ทองโปร่ง ขนมผิง และอื่นๆ ให้กับคนไทยได้นำมาถ่ายทอดต่อมาแต่ละครอบครัวและกระจายไปในหมู่คนไทยมาจนถึงทุกวันนี้

แม้ว่านางมารีจะมีชาติกำเนิดเป็นชาวต่างชาติ แต่ก็เกิดและเติบโตมีชีวิตอยู่ในเมืองไทยจวบจนหมดสิ้นอายุขัย โดยทิ้งตำราอาหารไทยลูกผสมไว้เป็นอนุสรณ์ของความสัมพันธ์ 2 ชาติ และในปี 2554 ความสัมพันธ์ไทยโปรตุเกสจะครบ 500 ปี

ซึ่งทั้งนี้ถือว่า โปรตุเกสเป็นยุโรปชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับไทยในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โดยได้รับที่ดินทางริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลสำเภาล่ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบันตั้งเป็น “หมู่บ้านโปรตุเกส” เพื่อบำเหน็จความชอบที่ร่วมรบในสงครามเมืองเชียงกรานจนชนะ

ในปัจจุบันหมู่บ้านโปรตุเกสกลายเป็นที่อยู่ของคนหลายสัญชาติ ที่อยู่รวมกันอย่างสงบสุข และเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาคนจากหมู่บ้านโปรตุเกสได้ตามพระเจ้าตากสินมหาราช ไปตั้งหมู่บ้านใหม่อยู่ที่ริม แม่น้ำเจ้าพระยา ถัดจากชุมชนชาวจีนลงไปทางใต้ เรียกว่า ชุมชนกุฎิจีน บางส่วนก็ไปตั้งชุมชนใหม่ใกล้สถานทูตโปรตุเกสในปัจจุบัน

ขนมทองหยอด เป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย เป็นอาหารที่คู่สำรับกับข้าวไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เป็นสิ่งแสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนประณีตในการทำ ตั้งแต่วัตถุดิบ วิธีการทำ ความพิถีพิถัน ด้านรสชาติ สีสัน ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รูปลักษณ์ภายนอก การตกแต่ง ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะขนมนั้น ๆ

ส่วนผสม
ไข่ไก่ 20 ฟอง
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 8 ถ้วย
น้ำ 5 1/2 ถ้วย
ใบเตยหั่นเป็นท่อนๆ 8-10 ใบ


วิธีทำ
1.เตรียมน้ำเชื่อมใส สำหรับแช่ทองหยอดโดยใส่น้ำตาล 3 ถ้วย น้ำ 3 ถ้วย และใบเตย 4-5 ใบ ลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือดจนน้ำตาล ทรายละลาย ยกลง แล้วทิ้งไว้ให้เย็น

2.เตรียมน้ำเชื่อมข้น สำหรับหยอดทองหยอดใส่น้ำตาล 5 ถ้วย น้ำ 21/2 ถ้วย และใบเตย 4-5ใบ ลงในหม้อ ตั้งไฟพอเดือดจนน้ำตาล ทรายละลาย ยกลงแล้วทิ้งไว้ให้เย็น
3.ต่อยไข่ใส่ชาม แยกไข่ขาวออกจากไข่แดง

4.ตีไข่แดงให้ขึ้นฟู 3 นาที ความเร็วกลางๆ
5.ตวงไข่แดงที่ขึ้นฟู 3 ช้อนโต๊ะ ใส่ชามไว้ นำแป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ เทลงผสมคนให้เข้ากัน จนเนื้อเนียน(แต่อย่าคนให้นานเกินไป เพราะจะทำให้ แป้งเหนียว) หยอดแล้วจะเป็นไตแข็ง

6.นำน้ำเชื่อมข้นที่เตรียมไว้ขึ้นตั้งไฟให้เดือดพล่านมีฟองเต็มกระทะ (จะได้ประคองขนมให้ได้รูปทรงอยู่ตัว)
7.ใช้ส่วนปลายช้อนขนมหวานปาดส่วนผสมไข่แดงกับแป้งข้าวเจ้าขึ้น มาอยูที่ปลายช้อน ประมาณ 1ซม. แล้วใช้นิ้วโป้งดันลงในน้ำเชื่อม ให้เป็น รูปหยดน้ำ (ต้องทำให้เร็วทองหยอดจึงจะสวย)
8.ขณะรอขนมสุก ให้เติมน้ำ 1 ทัพพีลงไปรอบๆกระทะ(เพื่อไม่ให้น้ำเชือม เข้มขนเกินไปน้ำเชื่อมข้นเกินไปจะทำให้สุกช้า เนื่องจากน้ำเชื่อมไม่สามารถซึมเข้าไปในเนื้อขนม) เพราะทองหยอดมีส่วนผสมของแป้ง จึงทำให้สุกช้ากว่าทองหยิบ

9.เมื่อขนมสุกใส ให้ใช้ทัพพีตักขึ้นแช่ในน้ำเชื่อมใสที่เตรียมไว้

10. ขนมเย็นแล้วจึงตักขึ้นไปจัดใส่ภาชนะ

11. ผสมไข่กับแป้งข้าวเจ้า อีกตามสัดส่วนที่กำหนด และเช่นเดียวกันหมด เมื่อหัดหยอดด้วยปลายช้อนไปนานๆ จนชำนาญแล้วทดลองหยอด ด้วยมือดูบ้างได้


แหล่งที่มา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น