แบบสอบถามเรื่องความสนใจของประชาชนในการมีส่วนร่วมทางกฏหมาย

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เศรษฐกิจพอเพียง

โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริความเป็นมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมีพระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท

ในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนามาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่ 2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่ 3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่ 4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่ 5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่ 6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
น้ำหมักชีวภาพ เทคโนโลยีชาวบ้านเพื่อเศรษฐกิจพอเพียงฉันได้เริ่มศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหมักชีวภาพอย่างจริงจังมาตั้งแต่ พ.ศ.2541 จากความรู้ที่ฉันมีอยู่เดิมตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษาเกษตรในวิชาเคมีฯ และชีวะฯ เกี่ยวกับเรื่องอินทรีย์วัตถุ ฮอร์โมนพืช ธาตุอาหารพืช จุลินทรีย์ ได้นำเอามาใช้อย่างจริงจังก็ครั้งนี้เอง(ฉันเรียนจบชั้น ปวส.จากวิทยาลัยเกษตรกรรมสิงห์บุรี) นอกจากนี้แล้วฉันยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร ตำราต่างๆบ้าง ตลอดจนการการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคลต่างๆ ทำให้อดใจไม่อยู่ที่จะลองวิชาของตัวเองดูซิว่ามีระดับไหน จึงได้ทดลองทำน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆขึ้นมาหลายสูตร(คิดสูตรเองบ้าง สูตรของคนอื่นบ้าง) และได้นำมาทดลองใช้ในชีวิตประจำวันจนเห็นผลว่าดีจริงหลายประการ จึงเกิดความคิดอยากจะแบ่งปันความรู้ แบ่งปันน้ำหมักที่มีอยู่ให้กับญาติสนิท มิตร สหายให้ได้ใช้ของดี ราคาถูก (ที่จริงแล้วพวกเขาไม่ต้องจ่ายเงินเลยเพราะฉันให้เขาไปใช้ฟรีๆ แต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อน คนทั่วไปยังไม่รู้จักน้ำหมักชีวภาพ ไม่รู้จักEM ไม่เคยได้ยิน อยู่ๆมีจะมาบอกว่าน้ำหมักชีวภาพหรือEM ดี มีประโยชน์ ทำโน่นทำนี่ได้หลากหลายเกือบ 30 อย่าง กลับถูกมองว่าเป็นพวกไม่ค่อยปกติ โกหก โม้ บ้า งมงาย เพ้อฝัน เว่อร์ ซึ่งฉันเคยถูกมองอย่างนี้มาแล้ว ตอนนั้นฉันรู้สึกโดดเดี่ยวพอควร ได้แต่คิดว่าในเมื่อมันเป็นความจริง คนอื่นไม่เชื่อก็ไม่เป็นไร เราจะทำของเราอย่างนี้ ถึงขนาดที่เวลาที่จะนำน้ำหมักชีวภาพสูตรน้ำซาวข้าวที่หมักไว้จำนวนมากจนเหลือใช้ไปเทใส่ในห้องสุขาทั้งของครูและของเด็กที่โรงเรียนต้องแอบๆทำตอนเย็นหลังเลิกเรียนและในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เพราะมักจะถูกครูและนักเรียนที่มาพบถามว่า"เอาน้ำอะไรมาเทน่ะ ทำไมมันเหม็นจัง" ซึ่งจริงๆแล้วมันไม่ได้เหม็นถึงขนาดนั้นหรอก เพียงแต่เป็นกลิ่นที่พวกเขาไม่คุ้นเคยและมันไม่หอมเหมือนน้ำหอมก็เท่านั้นเอง) ในเวลาต่อมาในสื่อต่างๆมีการกล่าวถึงน้ำหมักชีวภาพบ้างแต่ก็ยังไม่มากนัก ใน พ.ศ.2545 ที่โรงเรียนได้เป็นโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรใหม่(หลักสูตร44)มีการควบรวมหมวดวิชาเกษตรกรรม ช่างอุตสหกรรม คหกรรม และธุรกิจเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี และให้มีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยให้สอนงานเพื่อการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับบริบทของท้องถิ่น ฉัน(ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยกล้าตาย)ได้รับมอบหมายให้สอนในชั้น ม.4 ซึ่งเป็นปีแรก เพราะที่ผ่านมานักเรียนชั้น ม.ปลายไม่ต้องเรียนวิชาการงานฯ ในช่วงแรกก็สับสนพอควรว่าจะให้เด็กเรียนรู้อะไรดี คิดไปคิดมาเอาล่ะจากประสบการณ์ที่เป็นครูมา 16 ปี พบว่าเด็กๆส่วนมากจะชอบทำอาหาร(ไม่ว่าหญิงหรือชาย คล้ายกับเล่นขายของ แต่นี่ของจริง) และวัยรุ่นชอบทดลองทำอะไรที่มันท้าทาย ฉันก็เลยสอนทั้งเรื่องการทำอาหารและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพในชีวิตประจำวัน เพราะนี่ก็เป็นการดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง(เผื่อว่าจะได้กินพืชผักปลอดสารพิษ และได้นำเศษอาหารไปหมักทำน้ำหมักชีวภาพ)โดยฉันสอนเนื้อหาพื้นฐานให้ และให้นักเรียนไปสืบค้นความรู้ต่อยอดเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆตามที่นักเรียนสนใจ(ตอนนั้นแหล่งความรู้เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพยังมีน้อย) จากนั้นก็ลงมือปฏิบัติกันจริงๆ(ที่แน่ๆคือตอนนั้นนักเรียนทุกคนที่เรียนกับฉันได้ทำอาหารอย่างมีความสุขสนุกสนานและได้น้ำหมักชีวภาพสูตรน้ำซาวข้าวแบบจำยอมมาแล้วเพราะฉันมักจะได้ยินเสียงบ่นเบาๆเวลาที่ให้นักเรียนนำน้ำหมักที่ได้ไปเทใส่ในรางระบายน้ำรอบๆโรงอาหาร และใส่ในโถส้วมทั้งชายและหญิง) ฉันสอนเรื่องนี้ผ่านไปได้ 5 ปี มีนักเรียนที่เรียนเรื่องนี้เฉลี่ยปีละประมาณ 300 คน เป้าหมายหลักคืออยากให้เขานำความรู้ไปใช้ที่บ้านในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของผู้ปกครอง แต่พบว่ามีครูและนักเรียนที่สนใจมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมไม่มากนัก มีเพียงพวกที่พบปัญหาส้วมเต็มมาปรึกษาบ่อยๆ(มาขอหัวเชื้อEM) เวลาออกไปเยี่ยมบ้านนักเรียนเคยถามผู้ปกครองนักเรียนที่ยังทำนาด้วยวิถีเคมีว่าทำไมไม่ลองใช้ปุ๋ยชีวภาพหรือนำหมักชีวภาพสูตรป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชดูบ้างล่ะ คำตอบที่ได้คือ"ไม่กล้าลอง ไม่กล้าเสี่ยง ถ้าใช้แล้วใจคอไม่ดี กลัวไม่ได้ผล กลัวว่าจะได้ข้าวน้อยกว่าคนอื่นๆ" โดยส่วนตัวนั้น ฉันทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้และเศษอาหารไว้ที่บ้าน และทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เองหลายสูตร ทั้งสูตรที่ใช้งานโดยตรงและสูตรที่แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เช่น น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาสระผม สบู่ ฯลฯ (ใช้ภูมิปัญญาพึ่งพาตนเอง) จนกระทั่งปีพ.ศ.2550 ฉันได้พบบทความที่ผศ.ดร.ไชยวัฒน์ ไชยสุต อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนถึงการใช้น้ำหมักชีวภาพในวารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับที่ 8/2550 ฉันจึงต้องเก็บไว้เป็นต้นฉบับสำหรับอ้างอิงกับใครๆว่า น้ำหมักชีวภาพมีมากมายหลายสูตร ใช้วัตถุดิบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เกือบ 30อย่าง ซึ่งมีนักวิชาการที่มีความรู้ถึงระดับด็อกเตอร์ออกมายืนยันว่ามันมีสรรพคุณอย่างนั้นจริงๆ2. ใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกพืช การใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพในด้านการเพาะปลูกพืช ส่วนใหญ่ไม่ได้เน้นที่การเพิ่มธาตุอาหารหารพืชโดยตรง แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ให้ไปทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เพราะน้ำหมักชีวภาพจะมีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง ธาตุอาหารเสริม หรือ กรดอะมิโนและสารอื่นๆ ในปริมาณมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้หมัก 1. ช่วยลดแรงงาน เวลา และค่าใช้จ่ายในการกำจัดชิ้นส่วนของพืชที่เหลือทิ้งจากการเพาะปลูก โดยนำชิ้นส่วนของพืชมาแปรรูปเป็นน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร 2. ช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น โดยนำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วนรดลงบนดินที่มีอินทรีย์วัตถุ เป็นประจำ จะช่วยปรับสภาพของดินให้ดีขึ้น โดยจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ จะไปย่อยอินทรียวัตถุให้สลายตัวเป็นธาตุอาหารพืชได้ดีขึ้น และดินจะโปร่งขึ้น การอุ้มน้ำและการระบายอากาศจะดีขึ้น 3. ช่วยป้องกัน/กำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช การนำพืชที่มีสารออกฤทธิ์ในการขับไล่หรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืช มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ เช่น สะเดา ตะไคร้หอม บอระเพ็ด ขิง ข่า สาบเสือ ฯลฯ แล้วผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 500 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันและหรือกำจัดแมลงศัตรูพืชและโรคพืชบางชนิดได้ 4. ช่วยผลิตฮอร์โมนพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตของพืช การนำส่วนของพืชที่มีสารกระตุ้นในการผลิตฮอร์โมนพืช เช่น ส่วนยอดของพืช ส่วนดอก ผล รวมถึงน้ำมะพร้าว ฯลฯ มาหมักเป็นน้ำหมักชีวภาพ แล้วผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้ต้นพืชอย่างสม่ำเสมอ จะเร่งการเจริญเติบโตส่วนต่างๆของพืชได้3. ใช้ประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อม 1. ช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วนรดลงบนพื้นหรือฉีดพ่นไปตามกอหญ้ารอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ จะช่วยไล่แมลง และขจัดกลิ่นเหม็นรอบๆบ้านได้ 2. ใช้บำรุงสนามหญ้า นำน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำเจือจางในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน ฉีดพ่นให้สนามหญ้าหลังจากตัดหญ้า อย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สนามหญ้าสมบูรณ์ขึ้น 3. ใช้ดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำ นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำเป็นประจำ จะช่วยดับกลิ่นเหม็นของท่อระบายน้ำได้ 4. ใช้ทำความสะอาดตลาดสด น้ำที่ล้างพื้น ถ้านำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 200 ส่วน จะช่วยให้การล้างทำความสะอาดพื้นง่ายขึ้น หรือใช้ราดพื้นเป็นขั้นสุดท้ายหลังจากที่ล้างแล้ว จะช่วยขจัดกลิ่นเหม็นและไล่แมลงต่างๆได้ 5. ใช้ดับกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน เทลงในท่อระบายน้ำ กลิ่นเหม็นจะลดลง และจะช่วยลดการอุดตันของท่อระบายน้ำ 6. ใช้บำบัดน้ำเสีย น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัดน้ำเสียได้4. ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน 1. ใช้ในการอาบน้ำ ล้างหน้า นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 30 ส่วน อาบน้ำหรือล้างหน้า เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นตัว ลดสิว ลดฝ้ารักษาโรคผิวหนัง 2. ใช้ในการสระผม นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 10 ส่วน สระผม เป็นประจำ ผมจะสะอาด นุ่ม และช่วยลดรังแค แก้คันศีรษะ (ถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพจากใบส้มป่อย หรือใบหมี่ จะทำให้ผมนุ่มสลวยเป็นเงางาม) 3. ใช้ในการซักผ้า นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 5 ส่วน แช่ผ้าทิ้งไว้ 10 นาที แล้วซัก จะช่วยให้ผ้าสะอาด เนื้อผ้านุ่ม คงทน ดับกลิ่นอับ และฆ่าเชื้อโรคได้ด้วย 4. ใช้แปรงฟัน การใช้แปรงสีฟันจุ่มน้ำหมักชีวภาพเพียงเล็กน้อย แปรงฟันจนสะอาด แล้วบ้วนน้ำล้างปากให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบหินปูนและลดกลิ่นปากได้ ถ้าใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการเสียวฟัน ป้องกันฟันผุ (แต่ไม่ควรใช้ในเด็กเพราะฟลูออไรด์ที่เคลือบฟันอาจถูกสลายจากความเป็นกรดของน้ำหมักชีวภาพชนิดเข้มข้น และไม่ต้องตกใจว่าการใช้น้ำหมักชีวภาพแปรงฟันจะไม่เป็นอันตรายหรือ เพราะนมเปรี้ยวก็เป็นน้ำหมักชีวภาพชนิดหนึ่งในหลายร้อยสูตร) 5. ใช้บ้วนปาก การใช้น้ำหมักชีวภาพผสมในการทำน้ำยาบ้วนปาก(ศึกษาได้จากสูตรการทำน้ำยาบ้วนปาก)ในอัตราส่วนที่เหมาะสม จะมีฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็โทษที่อยู่ในช่องปากได้ 6. ใช้ล้างจาน ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 20 ส่วน ล้างจาน หรือใช้น้ำหมักชีวภาพที่หมักจากผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะกรูด หรือมะนาว หรือสับปะรด หรือมะเฟือง 1 ส่วน ผสมน้ำยาล้างจาน 5 ส่วน จะช่วยขจัดคราบไขมันได้ดีขึ้น 7. ใช้ล้างสารพิษตกค้างในผักและผลไม้ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน แช่ไว้นาน 45 นาที หรือ ใช้น้ำหมักชีวภาพเข้มข้น แช่ไว้นาน 20 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จะช่วยลดสารพิษ ทำให้กรอบขึ้น และเก็บได้นานขึ้น 8. ใช้ล้างห้องน้ำ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ราดทิ้งไว้ 10 นาที แล้วขัดถูล้างห้องน้ำ จะช่วยขจัดคราบสกปรก กำจัดกลิ่นเหม็น ฆ่าเชื้อโรค 9. ใช้ถูพื้น ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ซักผ้าถูพื้น จะช่วยขจัดคราบสกปรก กำจัดกลิ่นเหม็น ฆ่าเชื้อโรค 10. ใช้เช็ดกระจก ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ชุบน้ำเช็ดคราบสกปรก แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี กระจกใสสะอาด ฝุ่นเกาะน้อยลง 11. ใช้ล้างรถ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน ล้างคราบสกปรก แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดตามทันทีอีกครั้งให้สะอาด จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี สะอาดเงางาม ฝุ่นเกาะน้อยลง 12. ใช้ไล่แมลงวัน มด ยุง แมลงสาบ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วนผสมน้ำ 10 ส่วน ฉีดพ่นในบ้าน ในห้องต่างๆทุกซอกทุกมุม และรอบๆบริเวณบ้านเป็นประจำ อากาศในห้องจะดีขึ้น และจะค่อยๆช่วยลดปริมาณแมลงต่างๆได้ 13. ใช้กำจัดกลิ่นเหม็นและลดการอุดตันของท่อในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม นำน้ำหมักชีวภาพผสมน้ำในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 50 ส่วน ล้างทำความสะอาดพื้นและสุขภัณฑ์ต่างๆ จะทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น กลิ่นเหม็นจะลดลง และจะช่วยลดการอุดตันของท่อน้ำในห้องครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม 14. ใช้บำบัดน้ำเสียในครัวเรือนก่อนปล่อยทิ้ง ใส่น้ำหมักชีวภาพเทใส่ในบ่อบำบัดน้ำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำที่จะบำบัด 500 ส่วน จะช่วยบำบัดน้ำเสียได้ 15. ใช้ทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วน เช็ดทำความสะอาดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดี 16. ใช้ทำความสะอาดเครื่องใช้ประเภทเซรามิก เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องประดับต่างๆ ใช้น้ำหมักชีวภาพ 1 ส่วน ผสมน้ำ 100 ส่วน เช็ดล้างทำความสะอาดจะช่วยขจัดคราบสกปรกได้ดีข้อมูลนี้อาจทำให้ผู้ที่ยังไม่แน่ใจในสรรพคุณของน้ำหมักชีวภาพได้ปรับเปลี่ยนมุมมองขึ้นมาบ้าง ซึ่งข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เนื้อหายังไม่ละเอียดมากนัก หากจะนำไปใช้จริงควรต้องไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้อื่นๆให้มากกว่านี้ แต่พอจะสรุปประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพได้ดังนี้1. ใช้ประโยชน์ในด้านการเลี้ยงสัตว์ 1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารของสัตว์ การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางให้สัตว์กินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ย่อยอาหารได้ดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าสัตว์กินอาหารประเภทพืชสดหรือหญ้าสด จะช่วยประหยัดอาหารสัตว์ได้ถึง 30 % เพราะกระบวนการย่อยและดูดซึมสารอาหารจะดีขึ้น 2. ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคให้แก่สัตว์ การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์แข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น ช่วยลดความเครียดที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จากการเปลี่ยนสูตรอาหารในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต และจากการขนย้ายสัตว์ 3. ช่วยเพิ่มผลผลิต การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้สัตว์ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีลูกดกขึ้น ไข่ดกขึ้น ปริมาณน้ำนมมากขึ้น 4. ช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ หรือในฟาร์ม การใช้น้ำหมักชีวภาพเจือจางผสมในอาหารสัตว์หรือน้ำดื่ม ให้สัตว์ดื่มกินเป็นประจำ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 1,000 ส่วน จะทำให้มูลสัตว์มีกลิ่นเหม็นน้อยลง และถ้าใช้น้ำหมักชีวภาพ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 - 300 ส่วน ฉีดล้างคอกสัตว์เป็นประจำ จะช่วยลดกลิ่นเหม็นในคอกสัตว์ หรือในฟาร์ม ส่วนน้ำล้างคอกสัตว์ ถ้านำไปบำบัดอย่างถูกวิธี จะนำไปรดต้นไม้หรือแปลงหญ้าอาหารสัตว์ได้โดยไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม 5. ช่วยป้องกันน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเน่าเสีย การใช้น้ำหมักชีวภาพในอัตรา 1 ลิตร ต่อปริมาณน้ำในบ่อ 10 ลูกบาศก์เมตร ใส่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นประจำทุกๆ 7-10 วัน (แล้วแต่สภาพน้ำและความหนาแน่นของสัตว์เลี้ยง) จะช่วยลดความเน่าเสียของน้ำ ทำให้ไม่ต้องถ่ายน้ำบ่อยๆ หรืออาจไม่ต้องถ่ายน้ำในบ่อเลย

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า สังคมสีเขียว (Green Society) ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน ทั้งนักการเมืองและรัฐบาลใช้คำว่า เศรษฐกิจพอเพียง เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้รู้สึกว่าได้สนองพระราชดำรัสและให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดี หรือพูดง่ายๆ ก็คือ เศรษฐกิจพอเพียง ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อตัวเอง ซึ่งความไม่เข้าใจนี้อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุด จาก สหประชาชาติ (UN)โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็นปรัชญาที่สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนาคุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนคำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกลเงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือเงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติเงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิตแนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี
เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริงความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่ ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือ ร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด
การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่ายการผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ คุณค่า ให้มากกว่า มูลค่า ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

ที่มา http://www.bpp.go.th/project/project_18.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น